หายนะจากฟากฟ้า ความอำมหิตของกองทัพเมียนมาเข่นฆ่าประชาชนและเด็กเล็ก

หายนะจากฟากฟ้า ความอำมหิตของกองทัพเมียนมาเข่นฆ่าประชาชนและเด็กเล็กArticle informationAuthor, โจนาธาน เฮดRole, ผู้สื่อข่าวบีบีซี ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ 9 ชั่วโมงที่แล้วก่อนจะเดินทางไปโรงเรียน ในช่วงบ่ายวันที่ 16 ก.ย. 2022, เด็กหญิง ซิน นเว พโย วัย 9 ขวบ ตื่นเต้นมากที่คุณอามอบรองเท้าคู่ใหม่ให้เธอ

เด็กหญิงชงกาแฟให้คุณอา สวมรองเท้าคู่ใหม่ และออกเดินไปโรงเรียน ที่อยู่ห่างออกไปเพียง 10 นาที ในหมู่บ้านเละเยะโกน ทางตอนกลางของเมียนมา, เพียงไม่นานหลังจากนั้น คุณอาโทรศัพท์หาเธอบอกว่า เห็นเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำบินวนเวียนอยู่เหนือหมู่บ้าน ทันใดนั้น เฮลิคอปเตอร์ทหารก็เริ่มกระหน่ำยิง

ด.ญ. ซิน นเว พโย และเพื่อนร่วมชั้น พึ่งจะถึงโรงเรียนได้ไม่นาน กำลังนั่งลงเพื่อเริ่มเรียน ทันใดนั้น ใครบางคนตะโกนว่า เฮลิคอปเตอร์กำลังมุ่งหน้ามาทางโรงเรียน

พวกเขาเริ่มวิ่งหาที่กำบัง ทั้งหวาดกลัว และร้องไห้ขอความช่วยเหลือ ก่อนที่จรวดและห่ากระสุน จะพุ่งเข้าใส่โรงเรียน

“เราไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร” ครูคนหนึ่งที่อยู่ในห้องเรียนตอนที่การโจมตีปะทุขึ้น กล่าว “ตอนแรก ฉันไม่ได้ยินเสียงเฮลิคอปเตอร์ ได้ยินแต่เสียงกระสุนและระเบิดถล่มใส่โรงเรียน”อดีต จนท. ยูเอ็นชี้ เอกชนหลายชาติช่วยเมียนมาผลิตอาวุธปราบประชาชน
“ถ้าฉันได้ยิงก่อน ฉันจะฆ่าแกไอ้ลูกชาย”รัฐประหารเมียนมา: 1 ปีผ่านกับงานการทูตที่ไทยเลือกแสดง

“เด็ก ๆ ในอาคารเรียนหลัก ถูกกระหน่ำด้วยอาวุธ พวกเขาวิ่งออกไปข้างนอก พยายามหลบซ่อน” ครูอีกคนหนึ่ง กล่าว พร้อมเล่าต่อว่า เธอและนักเรียนของเธอเข้าไปหลบหลังต้นมะขามขนาดใหญ่

“พวกเขายิงทะลุกำแพงโรงเรียน ยิงใส่เด็ก ๆ” ผู้เห็นเหตุการณ์ เล่า “เศษชิ้นส่วนกระจุยกระจายจากอาคารเรียนหลัก ไปยังอาคารเรียนที่อยู่ติดกัน พื้นโรงเรียนเกิดหลุมขนาดใหญ่”ที่มาของภาพ, EPAคำบรรยายภาพ, สิ่งของที่เหลืออยู่ในห้องเรียนที่ถูกโจมตีเครื่องจักรสงครามที่ประหัตประหารเหล่าครูและเด็ก ๆ คือ เฮลิคอปเตอร์ทหารรุ่น เอ็มไอ-35 ที่มีสมญานามว่า “รถถังบินได้” หรือ “จระเข้” จากรูปลักษณ์ที่น่าเกรงขาม และเกราะกันกระสุนรอบเฮลิคอปเตอร์

เฮลิคอปเตอร์ที่ผลิตในรัสเซียรุ่นนี้ สามารถติดตั้งอาวุธได้หลากหลาย รวมถึงปืนแบบยิงต่อเนื่อง และชุดยิงจรวดได้หลายลูก สามารถสังหารผู้คน ยานยนต์ และอาคารทั่วไปได้

ช่วง 2 ปี นับแต่การรัฐประหารของกองทัพเมียนมา โค่นอำนาจนางออง ซาน ซู จี และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การโจมตีทางอากาศได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของกองทัพเมียนมา เพื่อทำสงครามกลางเมือง ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ อากาศยานด้านการรบของกองทัพเมียนมาเพิ่มขึ้นจนมีอากาศยานกว่า 70 ลำ ส่วนใหญ่ผลิตในรัสเซียและจีน

การประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่ชัดจากการโจมตีทางอากาศในหลายพื้นที่ของเมียนมา เป็นไปไม่ได้เลย ทำให้โลกภายนอกไม่ทราบถึงสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในเมียนมา

บีบีซีได้พูดคุยกับผู้เห็นเหตุการณ์ ชาวบ้าน และครอบครัวจำนวนมาก ผ่านการโทรศัพท์ เพื่อตรวจสอบว่า การโจมตีโรงเรียนดังกล่าวในตอนต้น เกิดขึ้นได้อย่างไร

บีบีซีได้รับทราบว่า การโจมตีทางอากาศดังกล่าว เกิดขึ้นนานราว 30 นาที ทำให้ผนังและหลังคาโรงเรียนบางส่วนร่วงหล่นลงมา

จากนั้น ทหารที่ก้าวลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ที่จอดอยู่ใกล้เคียง ได้บุกเข้ามา และยังคงยืนปืนใส่อยู่ ก่อนสั่งให้ผู้รอดชีวิตเดินออกมา และนั่งลงบนลานกิจกรรมของโรงเรียน ทหารสั่งไม่ให้ครูและนักเรียนเงยหน้าขึ้นมา มิเช่นนั้น จะถูกฆ่า

จากนั้น ทหารจึงเริ่มสอบถามถึงกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร ที่อาจซุกซ่อนอยู่ภายในหมู่บ้าน
คำบรรยายภาพ, ซิน นเว พโย วัย 3 ขวบ และ ซู ยาติ ฮแลง วัย 7 ขวบภายในอาคารเรียนนั้น เด็ก 3 คน กลายเป็นร่างไร้วิญญาณ หนึ่งในนั้น คือ ด.ญ. ซิน นเว พโย อีกคนคือ ด.ญ. ซู ฮาติ ฮเลง อายุเพียง 7 ขวบ โดยด.ญ. ซู ฮาติ ฮเลง และพี่สาว ได้รับการเลี้ยงดูโดยคุณยาย หลังพ่อแม่เดินทางข้ามไปประเทศไทยเพื่อหางานทำ

ครูและเด็กอีกหลายคนบาดเจ็บสาหัส บางคนสูญเสียอวัยวะ หนึ่งในนั้นคือ ด.ช. โพน เทย์ ซา อายุเพียง 7 ขวบ ที่ร้องไห้ออกมาด้วยความเจ็บปวด

ทหารใช้ถุงขยะมาเก็บชิ้นส่วนร่างกายต่าง ๆ ส่วนเด็กและครูที่บาดเจ็บอย่างน้อย 12 คน ถูกสั่งให้ขึ้นรถบรรทุก 2 คันของกองทัพ แล้วนำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลใกล้เคียง ซึ่งต่อมา เด็ก 2 คนในจำนวนนี้ ได้เสียชีวิตลง

ห่างออกไปที่ลานใกล้กับหมู่บ้าน ทหารได้ยิงสังหารเด็กวัยรุ่น 1 คน และผู้ใหญ่อีก 6 คน
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมา ประเทศที่จมปลักอยู่กับสงคราม กองทัพเมียนมาต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม มายาวนานนับแต่ได้รับอิสรภาพจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1948

แต่ปกติ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะเป็นการต่อสู้ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีสงครามขั้นสูง อาทิ ทหารภาคพื้นดินยิงต่อสู้กับกบฏชนกลุ่มน้อย ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ไม่ต่างอะไรมากนักจากสงครามสนามเพลาะ ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษก่อน

แต่สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป ในปี 2012 ในรัฐกะฉิ่น เพราะกองทัพอากาศได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ เอ็มไอ-35 ลำแรกมา และก็นำมาใช้โจมตีทางอากาศในการรบจริง ๆ กับกลุ่มติดอาวุธ

ช่วง 10 ปีนับแต่นั้น กองทัพเมียนมาได้ใช้การโจมตีทางอากาศหลายครั้งในสงครามกลางเมืองรัฐฉานและรัฐยะไข่

อย่างไรก็ดี นับแต่การรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2021, กองทัพเมียนมาเผชิญกับความสูญเสียจากการบุกโจมตีตามท้องถนนของกองกำลังพิทักษ์ประชาชน หรือ พีดีเอฟ ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่เกิดจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารที่ทนต่อการใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารไม่ได้อีกต่อไป

ตอนนี้ กองทัพเมียนมาจึงพึ่งการสนับสนุนทางอากาศเป้นหลัก ใช้การทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบินรบ กรุยทางสู่การโจมตีภาคพื้นดิน หรือปฏิบัติการโจมตีทางอากาศเหมือนที่เกิดที่หมู่บ้านเละเยะโกน ด้วยการใช้เฮลิคอปเตอร์กระหน่ำยิงเปิดทาง ก่อนที่ทหารจะรุกเข้าไปในพื้นที่เพื่อสังหาร หรือจับตัวกองกำลังฝ่ายต่อต้าน
ทีมข่าวบีบีซีได้ตรวจสอบข้อมูลจากกลุ่ม Acled หรือ โครงการที่ตั้งความขัดแย้งและกิจกรรมข้อมูล พบว่า ช่วงระหว่างเดือน ก.พ. 2021 ถึง ม.ค. 2023 กองทัพเมียนมาดำเนินการโจมตีทางอากาศอย่างน้อย 600 ครั้ง

การประเมินผู้เสียชีวิตจากการโจมตีเหล่านี้ ถือว่าทำได้ยากมาก แต่ข้อมูลจากรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือ NUG ที่เป็นรัฐบาลเงาของกลุ่มต่อต้านกองทัพเมียนมา ระบุว่า การโจมตีทางอากาศได้สังหารพลเรือนไปมากถึง 155 คน ในช่วงเดือน ต.ค. 2021 ถึง ก.ย. 2022

กลุ่มต่อต้านกองทัพเมียนมา ขาดแคลนยุทโธปกรณ์อย่างมาก และไม่มีศักยภาพพอจะโต้กลับการโจมตีทางอากาศนี้ พวกเขาจึงประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนเพื่อการพาณิชย์ เพื่อโจมตีกองทัพ อาทิ ทิ้งระเบิดขนาดเล็กไปยังยานยนต์ของทหาร หรือฐานของกองทัพ แต่ก็ได้ผลเพียงจำกัด
เหตุผลที่หมู่บ้านเละเยะโกนตกเป็นเป้าโจมตีของกองทัพ ก็ไม่แน่ชัด เพราะเป็นหมู่บ้านยากจน มีคนอาศัยอยู่ราว 3,000 คนเท่านั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนา หรือปลูกถั่ว เพราะผืนดินค่อนข้างแห้ง และหากไม่ใช่ฤดูมรสุม น้ำก็ค่อนข้างขาดแคลน

พื้นที่อย่าง เดแบยี่น มากกว่าที่กลุ่มต่อต้านควบคุมอยู่ และเป็นจุดปะทะระหว่างกองทัพกับกองกำลังพิทักษ์ประชาชนมาแล้วหลายครั้ง โดย NUG พบว่า จากปฏิบัติการโจมตีของกองทัพ 268 ครั้ง มีอย่างน้อย 112 ครั้งที่เกิดขึ้นในทางตอนใต้ของเขตสะกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งของ เดแบยี่น

โฆษกของรัฐบาลทหารเมียนมาชี้แจงภายหลังการบุกโจมตีโรงเรียน ว่า ทหารได้เข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อตรวจสอบว่ามีนักรบของกองกำลังพิทักษ์ประชาชน และทหารจากกองทัพเอกราชกะฉิ่นอยู่หรือไม่ แต่กลับถูกโจมตีจากในพื้นที่โรงเรียน ซึ่งถือเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับที่บีบีซีได้พูดคุยกับผู้เห็นเหตุการณ์ ไม่เพียงเท่านั้น กองทัพไม่ได้เปิดเผยหลักฐานถึงกิจกรรมของฝ่ายต่อต้านภายในโรงเรียน

ที่สำคัญ โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนวัด ที่วัดพุทธแห่งหนึ่งในพื้นที่ เพิ่งก่อตั้งขึ้นได้ 3 เดือน เพื่อสอนเด็กนักเรียนราว 240 คน อย่างไรก็ดี ชาวบ้านบอกกับบีบีซีว่า โรงเรียนแห่งนี้เป็นหนึ่งในโรงเรียนกว่า 100 แห่งในเขตเดแบยี่น ที่บริหารโดยชุมชนที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร
คำบรรยายภาพ, ใครสนับสนุนอากาศยานให้กองทัพเมียนมาอาจารย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นตัวอย่างของวิชาชีพที่สนับสนุนขบวนการต่อต้านการรัฐประหาร โดยหนึ่งในเหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านการรัฐประหารในช่วงแรก ๆ คือการที่ข้าราชการจำนวนมาก ถอนตัวไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลทหารที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนและศูนย์สาธารณสุขในพื้นที่ต่าง ๆ ตกอยู่ใต้การบริหารงานของชุมชนเอง ไม่ใช่โดยรัฐบาล

แม่ของ ด.ช. โพน เทย์ ซา ที่เสียชีวิต ระบุว่า เธอได้ยินเสียงยิงปืนและระเบิดนานราว 30 นาที หลังเธอส่งลูกชายไปโรงเรียน แต่เช่นเดียวกับคุณอาของ ด.ญ. ซิน นเว พโย ที่ไม่คาดคิดว่าเป้าหมายของเฮลิคอปเตอร์สงครามจะเป็นโรงเรียน

“หลังสิ้นสุดเสียงปืน ฉันมุ่งหน้าไปที่โรงเรียน” เธอกล่าว “ฉันเห็นเด็ก ๆ และผู้ใหญ่นั่งอยู่บนพื้น กดหัวลงต่ำ ส่วนทหารก็ไล่เตะคนที่เงยหน้าขึ้นมา”

เธออ้อนวอนทหาร ให้ปล่อยเธอไปตามหาลูกชาย แต่ทหารไม่ยอม “พวกแกสนใจแต่ตอนที่คนของพวกแกถูกยิง” ทหารคนนึ่งกล่าวกับเธอ “แต่ไม่สนใจตอนที่ทหารถูกยิง”

จากนั้นเธอได้ยิน โฟน เทย์ ซา ร้องหาเธอ ทหารจึงปล่อยให้เธอไปหาเขาในห้องเรียนที่เสียหายหนัก

“ฉันพบลูกจมกองเลือด ดวงตากระพริบช้า ๆ ฉันบอกลูกว่า ลูกจะต้องไม่เป็นอะไร ลูกต้องไม่ตาย”

“ฉันร้องไห้หนักมาก ตะโกนใส่ทหารว่า ‘ทำอย่างนี้กับลูกชายฉันได้ยังไง’ พื้นที่ตรงนั้นเงียบสงัด ตอนที่ฉันตะโกนออกมา เสียงดังสะท้อนไปกับตัวอาคาร ทหารตะโกนกลับว่า อย่ากรีดร้องแบบนั้น และบอกให้นิ่งอยู่กับที่ ฉันจึงนั่งอยู่ในห้องเรียนนั้นนาน 45 นาที โดยมีลูกอยู่ในอ้อมกอด ฉันเห็นร่างเด็กเสียชีวิต 3 คนอยู่ตรงนั้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นลูกใครบ้าง เพราะไม่กล้ามองหน้า”

ต่อมาไม่นาน ลูกชายของเธอ โฟน เทย์ซา ก็เสียชีวิต แต่ทหารไม่ยอมให้มารดาเก็บศพไว้ และนำร่างไร้วิญญาณของเขาไปด้วย เช่นเดียวกับร่างของ ซิน นเว พโย และซู ยาติ ฮแลง ซึ่งถูกฌาปนกิจอย่างลับ ๆ ก่อนที่ครอบครัวจะได้เห็นพวกเขาเป็นครั้งสุดท้าย
ที่มาของภาพ, Getty Imagesคำบรรยายภาพ, กองกำลังพิทักษ์ประชาชนห่างจากหมู่บ้านออกมากว่าพันกิโลเมตร ข้ามมายังประเทศไทย พ่อแม่ของซู ยาติ ฮแลง กำลังทำงานอยู่ในโรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตอนที่พวกเขาทราบข่าวว่าหมู่บ้านของพวกเขาถูกโจมตี

“ภรรยาและผมทุกข์ใจมาก เราตั้งสมาธิกับงานไม่ได้เลย” ตัวบิดา กล่าว

“ตอนนั้น เวลาบ่ายสองโมงครึ่ง เราจึงยังออกงานไม่ได้ เราตั้งหน้าทำงานต่อไปด้วยใจที่หนักอึ้ง เพื่อนร่วมงานถามเราว่าเป็นอะไรไหม ภรรยาของผมจึงกลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้อีก และเริ่มร้องไห้ พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ทำงานล่วงเวลาแล้ววันนั้น และขอหัวหน้ากลับไปที่ห้องของเรา”

เย็นวันนั้นเอง พวกเขาได้รับสายจากยายของซู ฮาติ ฮแลง ว่า บุตรสาวของพวกเขาถูกฆ่า

ประชาคมโลกเศร้าสลดและประณามสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเละเยะโกน แต่การโจมตีทางอากาศยังดำเนินต่อไป

เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2022 เครื่องบินรบของกองทัพเมียนมาบุกถล่มงานคอนเสิร์ตในรัฐกะฉิ่น ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบการเริ่มต่อสู้กับกองทัพเมียนมา ของกองทัพเอกราชกะฉิ่น

ผู้รอดชีวิตเล่าว่า เกิดระเบิดรุนแรง 3 ครั้ง ตัดผ่านฝูงชนที่มาร่วมคอนเสิร์ต ทำให้มีผู้เสียชีวิต 60 คน รวมถึงผู้บัญชาการของกองทัพเอกราชกะฉิ่นหลายคน และนักร้อง
คำบรรยายภาพ, พ่อแม่ของซู ยาติ ฮแลง ทำงานอยู่ในไทยเพื่อส่งเสียลูก ๆ ไม่กี่วันต่อมา ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังทหารปิดกั้นเส้นทางอพยพออกจากพื้นที่ ของเหล่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีดังกล่าว ทำให้พวกเขาไปรักษาอาการบาดเจ็บไม่ได้

สำหรับผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่หมู่บ้านเละเยะโกน ฝันร้ายไม่ได้จบแค่ในวันที่ 16 ก.ย. เท่านั้น

พวกเขาเล่าว่า เด็กจำนวนมาก รวมถึงผู้ใหญ่บางคน ยังบอบช้ำทางจิตใจจากสิ่งที่ได้เห็นในวันนั้น ขณะที่กองทัพก็ยังพุ่งเป้าไปที่หมู่บ้าน และดำเนินการโจมตีอีก 3 ครั้ง นับแต่นั้น โดยเผาบ้านเรือนวอดไปหลายหลัง

นี่เป็นชุมชนที่ยากจน ชาวบ้านจึงไม่มีทุนทรัพย์จะฟื้นฟูบ้านเรือนที่เสียหาย อีกทั้ง หากสร้างใหม่แล้วก็ไม่รู้ว่าทหารจะกลับมาโจมตีเมื่อไหร่

แต่ “ลูก ๆ คือทุกสิ่งทุกอย่างของพ่อแม่” แกนนำกลุ่มตรัฐประหารเมียนมาิดอาวุธในพื้นที่รายหนึ่ง กล่าว “กองทัพเหยียบย่ำจิตใจของประชาชน ด้วยการฆ่าลูก ๆ ของพวกเรา ผมต้องยอมรับว่า กองทัพทำสำเร็จ ตัวผมเอง ก็ต้องสร้างความฮึกเหิมอย่างมาก เพื่อต่อสู้ต่อไป”

ด้านพ่อแม่ของ ด.ญ. ซู ยาติ ฮแลง ที่ยังอยู่ในประเทศไทย และไม่มีทุนทรัพย์พอจะเดินทางกลับบ้านเกิด อีกทั้ง หากกลับเมียนมา พวกเขาก็ต้องสูญเสียงานที่โรงงาน ที่พวกเขาเลือกมาทำเพื่อหวังจะส่งเสียให้ลูกสาวมีชีวิตที่ดี

“ฉันจินตนาการไว้หลายอย่าง” ตัวมารดา กล่าว

“เคยวาดฝันว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับลูกสาว ทำอาหารให้พวกเขา ให้พวกเขาได้ทำสิ่งที่ต้องการ ฉันมีความฝันมากมาย”

“ฉันอยากให้พวกเขาฉลาด ได้รับการศึกษา อย่าให้เป็นเหมือนพ่อแม่ที่ไร้การศึกษา ลูก ๆ เพิ่งจะเริ่มได้ใช้ชีวิต แต่แล้วลูกของฉันก็ต้องจากไปตลอดการ โดยที่ยังไม่ได้รับความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่เลย”

Categories: My Blog